ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาคุณภาพผู้เรียน
เป้าประสงค์
ข้อ 1. ผู้เรียนเป็นคนดี มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ มีความรักในสถาบันหลักของชาติ ยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
ข้อ 2. ผู้เรียนมีศักยภาพ มีความสามารถในการแข่งขัน มีความรู้ สมรรถนะ ทักษะวิชาการ ทักษะชีวิต ทักษะวิชาชีพ เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ มีคุณลักษณะในศตวรรษที่ 21
กลยุทธ์ที่ 1 เสริมสร้างและพัฒนาคุณภาพผู้เรียน
1.1 พัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ให้เป็นระบบ มีขั้นตอน วิธีการที่ชัดเจน มีส่วนร่วมมีความต่อเนื่องยั่งยืนเพื่อส่งเสริมผู้เรียนให้เป็นคนดี มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ มีความรักในสถาบันหลักของชาติ ยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
1.2 พัฒนาระบบและกลไกในการดูแลความปลอดภัย ให้กับนักเรียน ครู และบุคลากร และสถานศึกษาจากภัยพิบัติและภัยคุกคามทุกรูปแบบ รวมถึงการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการมีสุขภาวะที่ดี สามารถปรับตัวต่อโรคอุบัติใหม่และโรคอุบัติซ้ำ
1.3 พัฒนาหลักสูตรให้มีความหลากหลาย ทันสมัย สอดคล้องกับการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ สังคมและเทคโนโลยีดิจิทัล เน้นการพัฒนาผู้เรียนรอบด้านตามพหุปัญญา ตามความถนัดและความต้องการของผู้เรียน ชุมชน และสังคม ในศตวรรษที่ 21
1.4 ส่งเสริมการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญตามแนว Active Learning เช่น การจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา (STEM) การสอนโดยใช้โครงงานเป็นฐาน (PBL) เป็นต้น และส่งเสริมการบริหารจัดการชั้นเรียนเชิงบวก
1.5 ส่งเสริมและพัฒนาสื่อ เทคโนโลยี และแหล่งเรียนรู้ที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ในการจัดกระบวนการเรียนรู้
1.6 ส่งเสริมการวัดและประเมินผลด้วยวิธีการและเครื่องมือที่หลากหลายและตามสภาพจริง
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 2 การสร้างโอกาส ความเสมอภาค และลดความเหลื่อมล้ำ
เป้าประสงค์
ข้อ 3 นักเรียนทุกคนได้รับการช่วยเหลือ ส่งเสริม และพัฒนาอย่างเสมอภาคและเท่าเทียม
กลยุทธ์ที่ 2 สร้างโอกาส ความเสมอภาค และลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา
2.1 ลดจำนวนนักเรียนที่ออกกลางคัน ตามนโยบายพาน้องกลับมาเรียน
2.2 ดำเนินการตามโครงการเรียนฟรี 15 ปี อย่างมีคุณภาพ และกองทุนเพื่อความเสมอภาค
ทางการศึกษา ให้มีประสิทธิภาพ สะดวก รวดเร็ว
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3 การส่งเสริมและพัฒนาครูและบุคลากร
เป้าประสงค์
ข้อ 4 ครูและบุคลากรทางการศึกษาเป็นมืออาชีพ มีมาตรฐานวิชาชีพและมีจรรยาบรรณวิชาชีพ เป็นแบบอย่างที่ดี
กลยุทธ์ที่ 3 พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้เป็นมืออาชีพ
3.1 พัฒนาครูให้มีความรู้และสมรรถนะในการจัดการเรียนรู้ และมีความก้าวหน้าในวิชาชีพ
3.2 ส่งเสริมความประพฤติ การรักษาวินัย คุณธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ
3.3 จัดกิจกรรมสร้างขวัญกำลังใจ ยกย่องและเชิดชูเกียรติ
3.4 พัฒนาชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community : PLC)
เพื่อเป็นเครื่องมือในการพัฒนาวิชาชีพและพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนรู้
3.5 ลดภาระงานและงานเอกสารที่ไม่จำเป็น ไม่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนรู้ของครู
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 4 การพัฒนาคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
เป้าประสงค์
ข้อ 5 ผู้เรียน ครู และบุคลากร มีการปฏิบัติงานและดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง อนุรักษ์ทรัพยากรสิ่งแวดล้อม และสืบทอดวัฒนธรรมอันดีงามของชุมชนและประเทศชาติ
กลยุทธ์ที่ 4 จัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
4.1 ส่งเสริมการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาบูรณาการในการจัดการเรียนรู้ การปฏิบัติงาน และการดำเนินชีวิต
4.2 ส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนผ่านกิจกรรมและโครงการต่าง ๆ
จัดสภาพแวดล้อมให้สวยงาม สะอาด ปลอดภัย เพียงพอ เอื้อต่อการเรียนรู้
4.3 ส่งเสริมการอนุรักษ์ภูมิปัญญา และวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่นและของชาติ
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 5 การเพิ่มประสิทธิภาพระบบบริหารจัดการ
เป้าประสงค์
ข้อ 6 โรงเรียนมีระบบบริหารจัดการที่มีคุณภาพ และการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาอย่างเข้มแข็ง
กลยุทธ์ที่ 5 พัฒนาระบบบริหารจัดการคุณภาพและการมีส่วนร่วม
5.1 กำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ และกลยุทธ์การพัฒนาโรงเรียนที่ชัดเจน
5.2 นำระบบบริหารจัดการคุณภาพ มาใช้ในการบริหารจัดการ
5.3 นำเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัยมาใช้สนับสนุนการบริหารจัดการและจัดการเรียนรู้
5.4 พัฒนาระบบการนิเทศภายในให้มีประสิทธิภาพเพื่อยกระดับคุณภาพการจัดการเรียนรู้
5.5 เพิ่มประสิทธิภาพระบบประกันคุณภาพการศึกษาให้มีการบูรณาการมากขึ้น
5.6 ส่งเสริมการมีส่วนร่วมและระดมทรัพยากรในการจัดการศึกษา
5.7 บริหารจัดการตามแนวคิดค่านิยมองค์กร KM TEAMS อย่างยั่งยืน